หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท รักษาอย่างไร รวม 5 วิธีรักษาได้ด้วยตัวเองจากที่บ้าน

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท รักษาอย่างไร รวม 5 วิธีรักษาได้ด้วยตัวเองจากที่บ้าน

หากคุณมีอาการปวดหลัง ปวดแขน ปวดขา เดินเพียงไม่กี่ก้าวร่างกายก็เริ่มชา นั่นอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรค หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ซึ่งเป็นโรคที่สร้างความทรมานให้กับผู้ป่วยเป็นอย่างมาก และสามารถพบได้ในกลุ่มคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่ม ‘คนวัยทำงาน’ ซึ่งถ้าปล่อยเอาไว้ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาการจะรุนแรงขึ้นจนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้เลยทีเดียว

ภายในบทความนี้ NBA Sportmanagement ได้รวบรวมวิธีการรักษาและบรรเทาอาการ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ที่สามารถปฏิบัติเองได้จากที่บ้านได้สะดวกและมีประสิทธิภาพ โดยขั้นตอนและวิธีการจะมีอะไรบ้าง มาดูกันได้เลย

มีสัญญาณอะไรบ้างที่บ่งบอกว่าคุณเป็นโรค หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ?

หากคุณเป็นคนที่มีพฤติกรรมเหล่านี้เป็นระยะเวลานานและต่อเนื่อง

  • ไม่ออกกำลังกาย ไม่ได้ขยับร่างกาย
  • น้ำหนักสูง มีภาวะอ้วน
  • ยกของหนักเป็นประจำ
  • ขับรถเป็นระยะเวลานาน
  • นั่งทำงานเป็นเวลานาน
  • ก้มหลังแล้วบิดตัวไปมา
  • เป็นโรคบางชนิด เช่น ไขข้อเสื่อม ข้ออักเสบ เนื้องอก

คุณอาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรค หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เนื่องจากพฤติกรรมด้านบนเป็นปัจจัยที่ทำให้กระดูกสันหลังต้องรับภาระหนัก ไม่ได้รับการฟื้นฟูผ่อนคลาย สภาพเสื่อมลงจน หมอนรองกระดูกสันหลังแตกและปลิ้นออกมาไปกดทับเส้นประสาท กลายเป็นโรค หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ในที่สุด

ผลเสียของโรค หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ในระยะยาว

  • ควบคุมระบบขับถ่ายไม่ได้ ฟื้นฟูกลับมาปกติได้ยาก
  • ในกรณีที่หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทกลางกระดูกสันหลัง อาจทำให้เกิดอัมพาตเฉียบพลัน
  • กล้ามเนื้อฝ่อ ลีบ อ่อนแรง สูญเสียประสาทความรู้สึกจนไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป
  • มีอาการปวดร้าวเฉียบพลัน ใช้ชีวิตประจำวันลำบาก อาจต้องนั่งรถเข็นเพื่อเคลื่อนที่
  • เสียค่าใช้จ่ายสูงสำหรับการผ่าตัดใหญ่

5 วิธีรักษา หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ทำได้ด้วยตัวเอง

อาการของโรค หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท สามารถหายเองได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ซึ่งขั้นตอนที่จะช่วยบรรเทาและยืดเส้นยืดสายกล้ามเนื้อ มีดังนี้

ออกกำลังกายคาร์ดิโอ ลดความอ้วน

หากคุณมีน้ำหนักตัวมากเกินไปจนเข้าสู่สภาวะอ้วน ร่างกายต้องรับน้ำหนักตัวมากขึ้น โดยเฉพาะส่วนกระดูกสันหลังที่จะเสื่อมสภาพไว เพราะต้องคอยช่วยพยุงร่างกายให้สมดุลอยู่ตลอดเวลา และเป็นกลุ่มบุคคลที่หากเกิดอาการปวดจะมีอาการหนักกว่าปกติ นอกจากนี้ถ้ายิ่งมีไขมันหน้าท้องเยอะเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้สมดุลร่างกายเสียหนักมากขึ้น เสี่ยงต่ออาการบาดเจ็บและเสื่อมสภาพของกระดูกสันหลังเร็วขึ้น

ดังนั้นการควบคุมน้ำหนักด้วย การออกกำลังกายคาร์ดิโอ สามารถช่วยลดโอกาสเกิดโรค หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โดยตัวอย่างการออกกำลังกายคาร์ดิโอสามารถทำได้ดังนี้

  • วิ่งออกกำลังกาย ไม่ว่าจะเป็นบนลู่วิ่งไฟฟ้าในบ้าน, วิ่งนอกบ้าน, วิ่งมาราธอน
  • เดินออกกำลังกาย เช่น เดินบนเครื่องเดินวงรี, เดินในสวนสาธารณะ, หมู่บ้าน
  • แอโรบิกเป็นระยะเวลาขั้นต่ำ 30 นาที
  • โยคะ ควรปูพื้นด้วยเสื่อโยคะเพื่อลดแรงกระแทกขณะออกกำลังกาย

ทั้งนี้ การออกกำลังกายคาร์ดิโอ สำหรับผู้มีความเสี่ยงโรค หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ควรต้องได้รับการสังเกตอย่างใกล้ชิดเพื่อลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุ ดังนั้นสถานที่ออกกำลังกายคาร์ดิโอที่เหมาะสมที่สุดนั่นคือ ‘ภายในบ้าน’ ของคุณเอง โดยอาจออกกำลังกายผ่านลู่วิ่งไฟฟ้า, เปิด YouTube ตามโปรแกรมที่ได้รับความนิยม หรือเดินบนเครื่องเดินวงรีก็นับว่าเป็นการเผาผลาญไขมันที่ปลอดภัย ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิด หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

ขยับร่างกาย เปลี่ยนอิริยาบถด้วยท่าออกกำลังกายง่าย ๆ ทำได้ทุกที่ ทุกเวลา

การนั่งทำงานติดโต๊ะนาน ๆ ส่งผลเสียต่อร่างกายมากมายไม่ใช่เพียงแค่โรค หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเท่านั้น แต่ยังรวมถึง Office Syndrome ซึ่งวิธีแก้ไขง่าย ๆ ทำได้เพียงขยับร่างกาย เปลี่ยนอิริยาบถ โดยเราได้รวบรวมท่าออกกำลังกายยืดเหยียดที่ทำได้ง่าย ๆ ทุกที่ ทุกเวลามาให้กับคุณแล้ว

ท่าบิดตัว

ภาพจาก feneticwellbeing

ท่าบริหารร่างกายง่าย ๆ ด้วยการบิดตัวไปมาซ้ายขวา วิธีการทำมีดังนี้

  1. นั่งตัวตรง เอามือจับบริเวณไหล่
  2. บิดตัวไปซ้ายขวาจนรู้สึกตึง ห้ามฝืนหรือทำรวดเร็วจนเกินไป เพราะอาจเกิดการบาดเจ็บ
  3. ทำซ้ำ 15-20 ครั้ง

ท่ายกขา

ภาพจาก autonomous

ท่าบริหาร ยืดเหยียดไขข้อบริเวณเข่า วิธีการทำมีดังนี้

  1. นั่งตัวตรง จับพนักเก้าอี้ ชันเข่าขึ้น
  2. เหยียดขาไปข้างหน้า ทำค้างเอาไว้ 5 วินาที
  3. ทำซ้ำ 10-15 ครั้ง

ท่าเขย่งเท้า

ภาพจาก morelifehealth

ท่าบริหารกล้ามเนื้อส่วนขา วิธีการทำมีดังนี้

  1. ยืนตัวตรงหลังเก้าอี้ (หรือไม่ต้องก็ได้)
  2. เขย่งส้นเท้าขึ้น ค้างเอาไว้ 2 วินาทีจากนั้นให้ลดลง
  3. ทำซ้ำ 10-15 ครั้ง

ท่ายืดกล้ามเนื้อแขน

ภาพจาก readers

ท่ายืดเหยียดลำตัว แขน มีวิธีทำดังนี้

  1. นั่งตัวตรง ยกแขนขึ้นประสานเอาไว้
  2. ดันลำตัวขึ้นจนรู้สึกตึง
  3. สามารถเอนตัวทางซ้าย ขวาได้
  4. ทำซ้ำ 15-20 ครั้ง

รับประทานยา

หากคุณยังมีอาการเล็กน้อยไม่รุนแรง ไม่มีความผิดปกติของระบบประสาท (รู้สึกชาจนเดินไม่ได้, ปวดร้าวไปทั่วร่างกาย) คุณสามารถเริ่มต้นบรรเทาอาการได้ด้วยการทานยาต้านการอักเสบ NSAIDS หรือยาคลายกล้ามเนื้อ เพื่อควบคุมการปวด จากนั้นเราขอแนะนำให้ทำกายภาพบำบัดร่วม

ทั้งนี้ หากคุณมีอาการรุนแรง คุณควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษา กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลังโดยเฉพาะ ไม่ควรซื้อยารับประทานเองเด็ดขาด

ทำกายภาพบำบัด

งานวิจัยพบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ 80% จะมีอาการดีขึ้นหลังจากได้ทำกายภาพบำบัด ซึ่งคุณสามารถทำกายภาพบำบัดได้เองจากที่บ้านด้วย ‘ท่านอนคว่ำ’ สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดจากโรค หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ซึ่งขั้นตอนการปฏิบัติทำได้ดังนี้

  1. นอนคว่ำลงกับพื้น พร้อมประคบหลังด้วยผ้าร้อนเป็นเวลา 30 นาที
  2. ผู้ป่วยบางรายที่ไม่สามารถนอนคว่ำได้ ให้นำหมอนมารองช่วงหน้าท้อง
  3. แอ่นหลังขึ้นโดยให้เอวติดกับพื้น แอ่นให้ได้มากที่สุดจนรู้สึกตึง เริ่มปวดกล้ามเนื้อ
  4. กลับเข้าสู่ท่านอนคว่ำ ทำซ้ำ 10 ครั้งจนรู้สึกแข็งแรงขึ้น
  5. หากแข็งแรงขึ้นแล้วสามารถนำแขนไขว้ข้างหลังแล้วแอ่นหลังเพื่อเพิ่มความเข้มข้นขึ้นได้

อีกหนึ่งวิธีทำกายภาพบำบัดบรรเทาโรค หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท คือการ ‘เดินในน้ำ’ โดยให้เดินในสระน้ำความสูงระดับอก เดินไล่ไปตามขอบสระ หากเกิดอาการปวดเมื่อยให้ยืนนิ่ง ๆ และย่อตัวลงคล้ายกับการสควอช แรงดันน้ำจะช่วยทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังกลับเข้าที่ ระยะเวลาการบำบัดอยู่ราว ๆ อาทิตย์ละ 2-3 ครั้งจนร่างกายแข็งแรงขึ้น

สวมเสื้อพยุงหลัง

การทำกายภาพบำบัด สามารถทำร่วมกับการสวมเสื้อพยุงหลังที่จะช่วยพัฒนาร่างกาย ลดอาการปวดจากโรค หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ให้หายได้รวดเร็วกว่าเดิม ซึ่งหลักการของการสวมเสื้อพยุงหลังจะทำให้หลังไม่ค่อม ร่างกายมีลักษณะตรง จำกัดการเคลื่อนไหวลดแรงกดทับของหมอนรองกระดูกสันหลัง

สรุป

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท สามารถหายเองได้หากคุณปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตด้วยวิธีที่เราได้นำเสนอไปในบทความนี้ และนอกเหนือจากประโยชน์ด้านการรักษาบรรเทาโรคแล้ว ร่างกายคุณจะแข็งแรงขึ้นจากการได้ขยับออกกำลังกายในแต่ละวัน

การออกกำลังกายที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยจะช่วยทำให้โรค หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หายเร็วขึ้น ซึ่งตัวช่วยที่เหมาะสมนั่นคือ ‘ลู่วิ่งไฟฟ้า’ และ ‘เครื่องเดินวงรี’ หากคุณอยากลงทุนเพื่อนำมาช่วยบริหารร่างกาย เราได้รวบรวมตัวช่วยที่เหมาะสมมาให้กับคุณแล้วดังนี้

เครื่องเดินวงรี Maxnum Elliptical EF02

ภาพจาก Maxnumfitness

เครื่องเดินวงรี Maxnum Elliptical EF02 เป็นเครื่องออกกำลังกายไร้แรงกระแทก เมื่อนำมาบริหารจะช่วยลดอาการของโรค หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ได้เป็นอย่างดี เครื่องเดินวงรี Maxnum Elliptical EF02 มีสเปคภายในดังนี้

  • ที่วางเท้าขนาดใหญ่ ใช้งานได้ปลอดภัย 
  • ราวจับที่เข้าทรงรับกับมือทุกขนาดของผู้ใช้งาน
  • ใช้ออกกำลังกายได้แบบไร้แรงกระแทก
  • วัสดุพรีเมียมทนทนแข็งแรง ใช้งานได้นาน
  • ไม่ส่งเสียงรบกวนขณะใช้งานด้วยระบบสายพาน V-Belt

สั่งซื้อเครื่องเดินวงรี Maxnum Elliptical EF02 ได้เลย ตอนนี้

ลู่วิ่งไฟฟ้า Maxnum T55AL

ลู่วิ่งไฟฟ้า Maxnum T55AL รุ่นย่อมเยาเข้าถึงง่าย ฟังก์ชันใช้งานครบ ใช้เดินพัฒนาเสริมสร้างร่างกายลดอาการ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ได้จากที่บ้าน ราคาเพียง 29,900 บาทเท่านั้น สเปคภายในมีดังนี้

  • มอเตอร์ไฟฟ้า AC 4 แรงม้า
  • ขนาดตัวเครื่อง 184 x 76 x 138 เซนติเมตร
  • หน้าจอแบบ LCD แสดงอัตราความเร็ว, ระยะเวลา, แคลอรี่, ระยะทาง, ความชัน และอัตราการเต้นของหัวใจ
  • รองรับการเชื่อมต่อ Bluetooth และ โปรแกรม ZWIFT
  • ปรับความเร็วได้ตั้งแต่ 1-18 กิโลเมตร/ชั่วโมง
  • ปรับความชันได้ถึง 15 ระดับ
  • พื้นที่วิ่ง 48 x 140 เซนติเมตร
  • น้ำหนักตัวเครื่อง 80 กิโลกรัม
  • รองรับน้ำหนักผู้ใช้งานได้มากถึง 130 กิโลกรัม

สั่งซื้อลู่วิ่งไฟฟ้า Maxnum T55AL ได้เลย ตอนนี้

ต้องการเปิดฟิตเนส?

ให้เราช่วยบอกคุณว่าควรเริ่มต้นอย่างไรให้ได้กำไรเข้าธุรกิจยิมของคุณให้ได้มากและเร็วที่สุด เราให้คำปรึกษาฟรีที่เหมาะกับขนาดพื้นที่และงบประมาณ

ปรึกษาฟรี!