ออฟฟิศซินโดรม Office Syndrome คืออะไร โรคยอดฮิตของคนทำงานออฟฟิศ ดูแล ป้องกัน ได้อย่างไร?

ออฟฟิศซินโดรม Office Syndrome คืออะไร โรคยอดฮิตของคนทำงานออฟฟิศ ดูแล ป้องกัน ได้อย่างไร?

Office Syndrome เป็นอาการที่คนรุ่นใหม่ส่วนมากมักจะประสบกันหลายคน เนื่องจากพฤติกรรมการทำงานที่เปลี่ยนไป คนหันมา Work from Home กันมากขึ้น และไม่ค่อยมีการขยับเคลื่อนไหวร่างกาย ยืดเส้นยืดสาย มีแต่การจ้องหน้าจอคอมต่อเนื่องวันละ 7-8 ชั่วโมง

เมื่อทำไปนาน ๆ ร่างกายก็เกิดอ่อนแรงจนเกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลาย ๆ ส่วนในร่างกาย ถึงแม้บางรายอาจหาวิธีแก้ไขด้วยการนวดแต่ก็หายไม่ขาด กลับมาเป็นเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือมีอาการเรื้อรังมากยิ่งขึ้น ซึ่งถ้าปล่อยเอาไว้นาน ๆ อาจทำให้เกิดโรคร้ายที่รุนแรงกว่าเดิมได้

ดังนั้นในบทความนี้ NBA Sportmanagement จะพามารู้จักกับอาการ Office Syndrome นี้ให้ดียิ่งขึ้น ว่ามีสาเหตุเกิดมาจากอะไร มีอาการอะไรบ้าง สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีการอย่างไร รับรองได้เลยว่าจะเป็นวิธีแก้ไขระยะยาวที่ดีให้กับคุณได้อย่างแน่นอน มาเริ่มกันได้เลย

Office Syndrome คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร

Office Syndrome คืออาการอักเสบของกล้ามเนื้อหลาย ๆ ส่วนในร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อคอ ไหล่ และหลัง สาเหตุของอาการ Office Syndrome เกิดมาจากการใช้กลุ่มกล้ามเนื้อส่วนดังกล่าวเป็นเวลานานและต่อเนื่อง โดยเฉพาะการทำงานหน้าคอมในออฟฟิศด้วยลักษณะท่าทางผิด ๆ เช่น ห่อไหล่ หลังค่อม นั่งตัวไม่ตรง หรือการจ้องหน้าจอคอมมากเกินไป

ภาพจาก origin

พฤติกรรมดังกล่าวนี้ เมื่อปฏิบัติไปนาน ๆ จะทำให้กล้ามเนื้อหดตัวและอ่อนแรงลง จนร่างกายต้องอาศัยกลุ่มกล้ามเนื้ออื่น ๆ เพื่อมาช่วยรองรับพฤติกรรมท่าทางเหล่านี้เพิ่มเติม ซึ่งก็เป็นการส่งแรงกดทับต่อไปจนทำให้เกิดอาการปวดในกลุ่มกล้ามเนื้อเหล่านี้เมื่อระยะเวลาผ่านไปนาน ๆ

และไม่เพียงแต่ท่าทางผิด ๆ เท่านั้น ที่ทำให้เกิด Office Syndrome แต่ยังมีปัจจัยอย่างอุปกรณ์ในออฟฟิศไม่รองรับสรีระร่างกาย Ergonomics , อาการเครียดสะสม, นอนหลับไม่เพียงพอ, ร่างกายไม่สมดุล หรือกระดูกสันหลังผิดรูป ก็มีผลทำให้เกิด Office Syndrome ได้เช่นเดียวกัน

อาการของ Office Syndrome

อาการของ Office Syndrome ส่วนใหญ่แล้วจะเกี่ยวข้องกับอาการปวดกล้ามเนื้อ, อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งอาการ Office Syndrome ที่มักจะเจอส่วนใหญ่มีดังนี้

อาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืด Myofascial Pain

หรือพูดง่าย ๆ คืออาการเจ็บปวดเรื้อรัง ในภาวะนี้ การกดทับในบริเวณที่กล้ามเนื้ออ่อนแรงจะทำให้เกิดอาการเจ็บปวดสูง เช่น คอ ไหล่ และสะบัก

โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ Carpal Tunnel Syndrome

อาการเส้นประสาทบริเวณข้อมือถูกกดทับจนทำให้เกิดอาการเจ็บปวด อาการชาร้าวไปสู่ข้อมือและแขน โดยอาการนี้จะเกิดขึ้นเมื่อเส้นประสาท Median หนึ่งในเส้นประสาทหลักของมือถูกกดทับ ใช้งานอย่างต่อเนื่อง

นิ้วล็อค Trigger Finger

ภาพจาก arthrithis

อาการนิ้วล็อคคือการที่นิ้วมือเกิดอาการปวด ตึง รู้สึกเหมือนนิ้วล็อคตลอดเวลาเมื่อจับสิ่งของ หรือยืดนิ้วออก นิ้วที่ได้รับผลกระทบบ่อยที่สุดคือนิ้วนางและนิ้วหัวแม่มือ แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ในนิ้วอื่นเช่นกัน

เอ็นอักเสบ Tendinitis

เอ็นอักเสบเป็นอาการปวด บวม ไม่สามารถขยับอวัยวะที่เกี่ยวข้องได้เต็มที่ ส่วนมากแล้วจะเกิดขึ้นในบริเวณข้อศอก ข้อมือ นิ้ว น่อง รวมถึงส่วนอื่น ๆ ในร่างกายก็สามารถเป็นได้เช่นเดียวกัน

ปวดหลังจากท่าทางผิดปกติ Postural Back Pain

ภาพจาก moov

ด้วยปัจจัยของการยืน-นั่งหลังค่อม ห่อไหล่ นั่งไม่ชิดพนักพิงเก้าอี้ ทำให้เกิดอาการปวดหลัง ซึ่งถ้าปล่อยนาน ๆ จะทำให้กลายเป็นโรคปวดหลังเรื้อรังในอนาคต

อาการเจ็บลูกสะบ้า Patellofemoral Syndrome 

เป็นอาการบาดเจ็บที่เข่า ซึ่งเกิดจากการที่ลูกสะบ้า Patella เคลื่อนออกจากร่องของกระดูกต้นขา และไปเสียดสีกับกระดูกต้นขา จนเกิดอาการปวดที่เข่า

โรคกระเพาะอาหาร Dyspepsia

อีกหนึ่งโรคที่หลายคนอาจไม่คาดคิดว่าจะเกิดได้กับ โรคกะเพาะอาหาร เพราะคนที่มีแนวโน้มมีอาการ Office Syndrome มักจะมีพฤติกรรมรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา เนื่องจากความเครียดจากงาน ซึ่งคนที่เป็นโรคกระเพาะอาหารมักจะมีอาการปวดเสียด รู้สึกคลื่นไส้ ปวดช่องท้องอยู่บ่อย ๆ

Office Syndrome ป้องกัน ดูแล ได้อย่างไร

จัดอุปกรณ์การทำงานให้รองรับสรีระร่างกาย

ลักษณะสรีระการทำงานในบริษัทที่ดีควรมีดังนี้

ภาพจาก rogards
  • เมาส์และคีย์บอร์ดควรอยู่ด้านหน้าในระยะที่ไม่ไกลจนเกินไป
  • ขณะใช้งานคอมพิวเตอร์ แขนของคุณควรมีที่รองรับจากเก้าอี้ในระยะ 90 องศา 
  • ระยะของหน้าจอกับตัวคุณควรห่างในระยะ 1 ช่วงแขน
  • หน้าจอคอมพิวเตอร์ควรอยู่ต่ำจากระดับสายตาอยู่พอประมาณ
  • มีแสงไฟสว่างพอประมาณเพื่อลดอาการปวดตาและปวดหัวจากคอมพิวเตอร์
  • การนั่งทำงานควรนั่งชิดพนักพิงเก้าอี้ ไหล่ไม่ห่อ
  • นั่งให้บริเวณส่วนน่องอยู่ระดับ 90 องศาติดกับพื้นเก้าอี้เสมอ

ปรับท่านั่ง เปลี่ยนอิริยาบถ

ภาพจาก rmagroup

คุณควรเปลี่ยนท่านั่งทุก ๆ 1-2 ชั่วโมงเพื่อป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อหดตัวจากการนั่งท่าเดิมนาน ๆ โดยการเปลี่ยนท่านั่งสามารถทำแบบใดก็ได้แต่ควรหลีกเลี่ยงการนั่งชิดขอบเก้าอี้เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น และนอกเหนือจากการปรับท่านั่ง ในระหว่างวันแนะนำให้คุณพักสายตาสั้น ๆ หรือออกไปยืดเส้นยืดสายด้วยการออกไปเดินสักเล็กน้อยจะเป็นการดีอย่างมาก

ออกกำลังกายเป็นประจำ

แน่นอนว่าวิธีการลดอาการ Office Syndrome อันดับ 1 คงไม่พ้นการออกกำลังกาย ซึ่งนอกเหนือจากจะช่วยทำให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลายแล้ว ยังทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ปรับบุคลิกภาพให้ดูดี มีลักษณะตรงที่จะช่วยลดพฤติกรรมนั่งหลังค่อม หรือการห่อไหล่ขณะทำงาน

การออกกำลังกายที่แนะนำสำหรับการลดอาการ Office Syndrome สามารถทำได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการคาร์ดิโอผ่านการวิ่ง (วิ่งนอกบ้าน, วิ่งด้วยลู่วิ่งไฟฟ้า) การยกเวทกระตุ้นกล้ามเนื้อก็สามารถช่วยทำให้กล้ามเนื้อหายตึง และสุดท้ายคือการออกกำลังกายด้วยท่ายืดเหยียดประเภท Warm Up หรือ Cooldown ก็เป็นการออกกำลังกายที่เข้าช่วยลดอาการ Office Syndrome ได้โดยตรง

[คุณสามารถดูลักษณะท่า Cooldown เพื่อนำมาบริหารลดอาการ Office Syndrome ได้ที่ บทความนี้]

หลีกเลี่ยงการเล่นมือถือต่อเนื่อง

การเล่นโทรศัพท์มือถือ, แท็บเล็ตมากเกินไปก็มีผลทำให้เกิดอาการ Office Syndrome ได้เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะการเล่นช่วงก่อนนอนที่จะทำให้สายตาเสีย, นอนไม่หลับ, นอนได้ไม่มีประสิทธิภาพ รวมถึงทำให้ปวดกล้ามเนื้อส่วนคอ, หัวไหล่ตามมาได้

นอนหลับ พักผ่อนให้เพียงพอ

เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟู ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้ดีที่สุด คุณควรนอนหลับพักผ่อนขั้นต่ำ 7 ชั่วโมงต่อวันเพื่อให้ Growth Hormones ถูกหลั่งออกมาให้ได้มากที่สุด และควรดูแลตัวเองด้วยการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และดื่มน้ำให้เพียงพออยู่เสมอ

เป็นคน Active ขยับร่างกายอยู่สม่ำเสมอ

แค่ขยับ เท่ากับออกกำลังกาย ดังนั้นเราอยากให้คุณมีนิสัยในการขยับร่างกายเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ อยู่เสมอ ยกตัวอย่างเช่น การล้างจาน การทำความสะอาดบ้าน หรือเล่นเกมที่ต้องใช้ร่างกายเป็นหลัก เช่น Just Dance, Ring Fit Adventures เป็นต้น

ภาพจาก inc

แต่สำหรับใครที่อยู่บ้านและต้องการอยากจะขยับร่างกายอยู่ตลอดเวลา ตัวช่วยดี ๆ อย่าง ลู่วิ่งไฟฟ้า สามารถช่วยคุณได้เป็นอย่างดี เพราะคุณจะสามารถวิ่งออกกำลังกายพร้อม ๆ กับการทำกิจกรรมอื่น ๆ เช่น ดูซีรีส์, ฟังเพลง, พูดคุยกับคนในบ้านได้ในทีเดียว นับว่าเป็นตัวช่วยสุดคุ้ม ลดอาการ Office Syndrome ได้ในตัว 

Maxnum Home Plus TD151

Maxnum Home Plus TD151 ลู่วิ่งไฟฟ้าคุณภาพเกรดยุโรปที่ออกแบบมาเพื่อ Home Gym ใช้วิ่งได้สนุก ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการ Office Syndrome ได้เป็นอย่างดี ดีไซน์สวยงาม สเปคภายในครบครัน แต่ราคาพิเศษเพียงแค่ 29,990 บาทเท่านั้น สเปคมีดังนี้

- มอเตอร์ DC เกรดฟิตเนส ความเร็วสูงสุด 4 HP 

- ปรับระดับความเร็วสูงสุด 20 กิโลเมตร/ชั่วโมง

- ปรับระดับความชันได้ 20 ระดับ

- ขนาดสายพานกว้างถึง 50 x 148 ซม.

- รองรับน้ำหนักผู้ใช้สูงสุด 150 กิโลกรัม

- โปรแกรมออกกำลังกายกว่า 12 โปรแกรม

- หน้าจอแสดงผล LCD มีระบบวัดไขมันในร่างกาย

ถ้าคุณสนใจสามารถสั่งซื้อ Maxnum Home Plus TD151 ได้เลยตอนนี้ ก่อนของจะหมด!

ต้องการเปิดฟิตเนส?

ให้เราช่วยบอกคุณว่าควรเริ่มต้นอย่างไรให้ได้กำไรเข้าธุรกิจยิมของคุณให้ได้มากและเร็วที่สุด เราให้คำปรึกษาฟรีที่เหมาะกับขนาดพื้นที่และงบประมาณ

ปรึกษาฟรี!