6 วิธีการปรับตัวของธุรกิจฟิตเนส รับมือวิกฤต COVID-19

6 วิธีการปรับตัวของธุรกิจฟิตเนส รับมือวิกฤต COVID-19

สถานการณ์การแพร่ระบาดระรอกใหม่ของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนได้ขยายวงกว้างมากยิ่งขึ้นในขณะนี้ ส่งผลกระทบโดยตรงกับผู้ประกอบการธุรกิจออกกำลังกายทุกราย ไม่ว่าจะเป็นฟิตเนสขนาดเล็ก-ใหญ่ ยิมแบบ Indoor และ Outdoor หรือสตูดิโอฟิตเนส ต่างก็ไม่สามารถลืมตาอ้าปากได้เต็มที่ในขณะนี้ นับว่าเป็นจุดต่ำสุดของวงการฟิตเนสเลยก็ว่าได้

ดังนั้นแล้ว จะมีหนทางใดบ้างที่จะมาเป็นวิธีการช่วยเหลือให้ธุรกิจฟิตเนสของผู้ประกอบการทุกคนสามารถเดินหน้าต่อได้ โดยให้มีการสูญเสียหรือขาดทุนน้อยที่สุด วันนี้ NBA Sportmanagement ได้รวบรวม 6 วิธีปรับตัวของผู้ประกอบการฟิตเนส ภายใต้สถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ครั้งใหม่ มาเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการทำธุรกิจในยุคนี้ให้สามารถดำรงธุรกิจต่อได้

แต่ก่อนที่จะถึงส่วนของวิธีการปรับตัวของธุรกิจฟิตเนส ผู้ประกอบการควรที่จะตระหนักถึง ‘สถานการณ์ธุรกิจฟิตเนสในปัจจุบัน’ เพื่อเป็นความรู้เบื้องต้นที่จะช่วยลดความเสี่ยงการลงทุนฟิตเนสในอนาคตได้

สถานการณ์ของธุรกิจฟิตเนสภายใต้การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบัน

นายศุกรีย์ สุภาวรีกุล นายกสมาคมกีฬาเพาะกายและฟิตเนสแห่งประเทศไทย ได้เปิดเผยว่า ภายใต้สถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดหนัก เหล่าผู้ประกอบการฟิตเนสจะต้องแบกรับค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น ค่าพื้นที่รายเดือน-ปี, ค่าพนักงาน (เทรนเนอร์, พนักงานทั่วไป) ซึ่งจากมาตรการการปิดตัวจากทางรัฐบาลก็ทำให้ฟิตเนสทั้งหลายจะต้องให้บริการลูกค้าด้วยการ ‘สอนออกกำลังกายผ่านระบบออนไลน์’ ที่ทำให้ลูกค้าสามารถใช้บริการได้จากที่บ้าน, หรือการให้เทรนเนอร์สอนรายคนระบบ Online

ภาพจาก greenqueen

แต่การใช้มาตรการเหล่านี้ก็ต้องแลกมากับการที่ฟิตเนสจะต้อง ‘ระงับการเรียกเก็บค่าสมาชิก’ หรือแม้กระทั่งต้อง ‘ยืดระยะเวลา’ Membership ของลูกค้า ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องสูญเสียรายได้จากค่าสมาชิก, ค่าต่อสมาชิกตรงจุดนี้ไปโดยปริยาย

มากไปกว่านั้น ธุรกิจฟิตเนส ได้ถูก Disrupt ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนามาเพื่อการฝึกฝนการออกกำลังกายโดยเฉพาะอย่าง Peloton ซึ่งเป็นบริษัทที่บริการ Streaming คลาสเรียนออกกำลังกาย เพื่อให้ผู้บริการสามารถออกกำลังกายในบ้านได้อย่างเต็มรูปแบบ โดยเปิดตัวพร้อมกับจักรยานออกกำลังกายและลู่วิ่งไฟฟ้าที่มีจอสัมผัส มีระบบ WiFi ภายในเครื่อง

ภาพจาก brandbuffet

โดย Peloton ได้ชูจุดเด่นด้วยฟีเจอร์การแข่งออกกำลังกายแบบเรียลไทม์กับผู้อื่น เพื่อสร้างบรรยากาศให้สมาชิกรู้สึกเสมือนได้ท้าทายตัวเองอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งยังมีการว่าจ้างเทรนเนอร์ที่เป็นดารามีชื่อเสียง ทำให้ผู้ใช้บริการรู้สึกว่าได้ออกกำลังกายไปพร้อม ๆ กับคนดัง

ภาพจาก today

โดยล่าสุด ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 กรุงเทพมหานคร หรือ ศบค.กทม. ได้อนุญาตให้เปิดสถานที่ออกกำลังกาย ฟิตเนสได้ตามปกติ แต่ต้องมีมาตรการ Social Distancing ระหว่างเครื่องออกกำลังกายอย่างน้อย 2 เมตร มีการทำความสะอาดจุดที่ต้องสัมผัสบ่อย ๆ ด้วยแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ ผู้ให้บริการ, ผู้ใช้บริการจะต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาขณะอยู่ในพื้นที่ และจำกัดจำนวนผู้ใช้บริการ

6 วิธีปรับตัวของผู้ประกอบการฟิตเนส ภายใต้สถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ครั้งใหม่

ออกมาตรการสร้างระยะห่างให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล

สำหรับธุรกิจฟิตเนสที่ไม่ผ่านเกณฑ์การตรวจสอบความปลอดภัยก็จะต้องถูกระงับการเปิดให้บริการอย่างน่าเสียดาย ดังนั้นแล้ว สิ่งแรกควรพึงกระทำนั่นก็คือ ปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลในการสร้างระยะห่างทางสังคม และข้อปฏิบัติอื่น ๆ ที่สามารถทำให้ธุรกิจฟิตเนสมีมาตราฐานความปลอดภัยให้กับผู้ใช้บริการ 

ภาพจาก healthclubmanagement

โดยตัวอย่างมาตรการที่ควรพึงปฏิบัติมีดังนี้

  • จำกัดจำนวนผู้ใช้บริการในหนึ่งพื้นที่ประมาณ 1:5 ของพื้นที่ทั้งหมด
  • ลดจำนวนของผู้ที่เข้ามาใช้บริการคลาสเรียนออกกำลังกายปกติสัดส่วน 1 คนต่อ 4 ตารางเมตร แต่ถ้าเป็นคลาสความเข้มข้นสูง (High Intensity) จะต้องปรับเป็นสัดส่วน 1 คนต่อ 6.25 ตารางเมตร
  • จำกัดระยะเวลาการเข้าใช้บริการไม่เกิน 2-3 ชั่วโมงต่อครั้ง/คน โดยต้องทำการจองการใช้งานล่วงหน้าก่อนเข้ามาใช้บริการ
  • ก่อนเข้าพื้นที่บริเวณฟิตเนส, ยิม จะต้องล้างมือโดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อที่จัดเตรียมเอาไว้
  • ก่อน-หลังการใช้อุปกรณ์ออกกำลังกายจะต้องมีการทำความสะอาดทุกครั้ง
  • มีตารางการทำความสะอาดอุปกรณ์และเครื่องใช้ทั้งหมดในฟิตเนส, ยิมอย่างเป็นระบบ เช่น ทำความสะอาดทุก ๆ ครึ่งชั่วโมง

ภาพจาก money

โดยหลักการข้างต้นถือว่าเป็นมาตรการ New Normal ที่สามารถจะเรียก ‘ความเชื่อมั่น’ ให้กับผู้ที่เข้ามาใช้บริการได้อีกครั้ง รวมถึงยังเป็นการ ‘สร้างมาตรฐานความสะอาด’ ที่จะคงอยู่ไปตลอดกับธุรกิจฟิตเนสของคุณ ที่จะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ของคุณได้

นำเสนอคลาสเรียนออนไลน์จากที่บ้าน

นอกเหนือไปจากการปรับตัวด้าน Offline แล้ว ผู้ประกอบการยังต้องจับตาดูเทรนด์เทคโนโลยีในขณะนี้ที่มีการพัฒนาก้าวกระโดด และหยิบจับนำเทคโนโลยีนั้นมาเป็นจุดเด่น หรือตัวช่วยในการขับเคลื่อนธุรกิจในสถานการณ์ยากลำบากขณะนี้ได้

ภาพจาก timeout

ดังนั้นแล้ว การเพิ่มในส่วนของ ‘คลาสเรียนออนไลน์’ เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อเป็นการนำเสนอทางเลือกใหม่ ๆ สำหรับการออกกำลังกายแก่ผู้ใช้บริการ ให้สามารถเรียนรู้, ออกกำลังกายได้จากที่บ้าน หรือที่ใดก็ได้

ภาพจาก health

 

หากคุณยังเป็นผู้ที่เริ่มต้นในการจัดทำคลาสเรียนออนไลน์ คุณอาจจะเริ่มต้นจากการทำ Live Streaming หรือ Premiere ผ่าน Facebook Group, YouTube (ผ่านการสมัครสมาชิก Channel Membership Subscription) และเมื่อสามารถตั้งตัวได้แล้ว ก็อาจจะลงทุนเพิ่มกับการทำเว็บไซต์ของตัวเอง ที่สามารถต่อยอด และกลายมาเป็น Main Hub สำหรับแบรนด์ต่อไป

มากไปกว่านั้น คลาสเรียนออนไลน์ ไม่จำเป็นจะต้องเป็นการออกกำลังกายเสมอไป อาจจะเป็นคลาสเรียนสอนความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกาย ตัวอย่างไอเดียของคลาสให้ความรู้ก็จะมีดังนี้

  • คลาสเรียนแปลงร่าง ลดไขมัน
  • คลาสเรียนเพิ่มกล้าม เพิ่มอัตราการเผาผลาญ
  • คลาสเรียนแก้ฟอร์ม Posture ที่ถูกต้องสำหรับการเวทเทรนนิ่ง
  • คลาสให้ความรู้เบื้องต้นของการออกกำลังกาย
  • คลาสทิป เทคนิคลับ ในการออกกำลังกาย
  • คลาสสอนทักษะอาชีพสำหรับการต่อยอดในอาชีพเทรนเนอร์
  • คลาสสอนหลักการรับประทานโปรตีนเพื่อสร้างกล้ามเนื้อ
ภาพจาก health

และหากเป็นคลาสเรียนที่เป็นการสอนออกกำลังกาย ตัวอย่างไอเดียของคลาสก็จะมีดังนี้

ซึ่งแน่นอนว่ายิ่งคลาสเรียนมีความน่าสนใจเท่าไหร่ ก็ยิ่งสามารถดึงดูดให้ผู้ใช้บริการเข้ามาเลือกซื้อคอร์สได้มาก หากพัฒนาจนมีคุณภาพดี แบรนด์แข็งแรง น่าเชื่อถือ ก็จะเป็นอีกหนึ่งการพัฒนาที่สามารถเป็นแหล่งรายได้หลักแทน Membership รายเดือน-ปี ได้

เพิ่มบริการเช่า-ยืมอุปกรณ์ออกกำลังกาย

หลังจากที่ได้พัฒนาหลักสูตรออนไลน์สำหรับฟิตเนสแล้ว บริการเพิ่มเติมที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งก็คือ ‘บริการเช่า-ยืมอุปกรณ์ออกกำลังกาย’ สำหรับสมาชิกปัจจุบันของฟิตเนสของคุณ

ภาพจาก bangkokpost

โดยหลักการให้เช่ายืมสามารถทำเป็นแพคเกจอุปกรณ์ออกกำลังกาย เช่น แพคเกจเครื่องปั่นจักรยาน ราคา 2,000 บาท ใช้งานได้ 2 สัปดาห์ โดยการจะใช้บริการเช่า-ยืมอุปกรณ์ได้จะต้องเป็นสมาชิกของฟิตเนส และต้องมีการวางเงินมัดจำขณะเช่า-ยืม เพื่อเป็นหลักค้ำประกันความปลอดภัย

และคุณยังสามารถนำ ‘บริการคลาสเรียนออนไลน์’ เข้ามาเสริมรวมเข้ากับแพคเกจการให้บริการเช่า-ยืมอุปกรณ์ออกกำลังกายได้เช่นเดียวกัน ยิ่งสามารถส่งเสริมการตัดสินใจเลือกซื้อของผู้ใช้บริการได้อย่างดีเยี่ยม

เพิ่มเกณฑ์เยียวยา ผ่อนผัน ขยายระยะเวลา Membership ให้กับผู้ใช้บริการ

ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ไม่ได้ส่งผลกระทบเพียงแค่ผู้ประกอบการ แต่ผู้ใช้บริการก็ได้รับผลกระทบไม่แพ้กัน ทำให้ผู้ใช้บริการอาจจะไม่สามารถเข้ามาใช้บริการได้ ดังนั้น ทางฟิตเนสจึงจะต้องมีมาตรการที่จะช่วยเยียวยา ลดผลกระทบให้กับผู้ที่ได้สมัครสมาชิกเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็น

  • การหยุด, ขยายระยะเวลา Membership ให้กับสมาชิกที่ได้รับผลกระทบ โดยอาจจะให้สมาชิกเลือกเดือนที่ต้องการจะหยุด-ขยายระยะเวลาได้เองตามความสะดวกในการเข้ามาใช้บริการ
  • การขยายระยะเวลาเทรนเนอร์ส่วนตัว ตามระยะเวลาที่ฟิตเนสได้ปิดให้บริการไป
  • การขยายระยะเวลาสำหรับลูกค้าเฉพาะกลุ่ม เช่น ผู้สูงอายุ, ผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพ ฯลฯ

จัดทำโปรโมชันพิเศษ

ธุรกิจฟิตเนสในขณะนี้จำเป็นจะต้องมีการทำโปรโมชัน เพราะผู้ให้บริการควรที่จะต้องรักษาฐานสมาชิกเก่าเอาไว้ให้ได้ และต้องหาลูกค้าใหม่ที่มีกำลังในการซื้อเพียงพออยู่เสมอ โดยตัวอย่างโปรโมชันที่น่าสนใจมีดังนี้

  • โดยหากคุณเป็นฟิตเนสที่มีหลายสาขา อาจจะออกโปรโมชันลดราคา Membership สัญญารายปีราคาถูก แต่สามารถใช้บริการได้ 1 สาขา
  • โปรโมชัน เหมาชั่วโมงเทรนเนอร์ 100 ชั่วโมง เลือกเทรนเนอร์ได้เองตามต้องการ
  • โปรโมชัน ออกกำลังกายแบบ A La Carte จ่ายแค่บริการที่ต้องการใช้บริการ ถูกกว่าการซื้อทั้งแพคเกจ
  • โปรโมชัน ลดค่าบริการ 50% ทั้งโปรแกรมการออกกำลังกาย และเทรนเนอร์ส่วนตัว

เลือกซื้อเครื่องออกกำลังกายที่มีบริการหลังการขายฟรี คุ้มค่ากับการลงทุน

หากคุณกำลังอยู่ในขั้นตอนการปรับเปลี่ยน ขยายฟิตเนส, ยิม คุณควรที่จะเลือกซื้อเครื่องออกกำลังกายที่มี ’ความคุ้มค่าในระยะยาว’ ด้วยการพิจารณาจากปัจจัยของ ‘บริการหลังการขาย’ ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญในการดำเนินธุรกิจฟิตเนสของคุณ

ภาพจาก NBA Sportmanagement

เครื่องออกกำลังกายจาก NBA Sportmanagement ทุกชิ้น มาพร้อมกับบริการหลังการขายอันดับ 1 ในอุตสาหกรรม ที่จะช่วยสร้างความสะดวกสบายให้กับคุณ อาทิเช่น การจัดส่ง-ติดตั้งอุปกรณ์ให้คุณถึงสถานที่ประกอบการ การรับประกันอุปกรณ์ขั้นต่ำ 1 ปี 

และทาง NBA Sportmanagement ยังมีการสำรองอะไหล่เครื่องออกกำลังกายเอาไว้ 5% เสมอ และยังมีบริการที่สำคัญที่สุด คือบริการตรวจสอบสภาพความแข็งแรงทนทานของอุปกรณ์ให้ฟรีทุก ๆ 4 เดือน ที่จะเป็นตัวการันตีความอุ่นใจของคุณได้เป็นอย่างดี หากสนใจแล้วสามารถเลือกซื้อได้ทันที >>> ที่นี่ หรือบน ShopeeLazada

สรุป

แม้ว่าฟิตเนสและยิมออกกำลังกายต่างๆ เริ่มกลับมาเปิดให้บริการแล้วในขณะนี้ แต่ด้วยระยะเวลาการปิดให้บริการที่นาน ทำให้เหล่าผู้รักสุขภาพมีไลฟ์สไตล์การออกกำลังกายที่ไม่เหมือนเดิม 100% โดยอาจจะมีการหันไปสร้าง Home Gym หรือใช้บริการเทรนเนอร์ส่วนตัวรูปแบบออนไลน์ภายในบ้าน เพราะช่วยให้อุ่นใจ คลายกังวลจากไวรัสโควิด-19

สถานการณ์ไวรัสโควิด-19 จึงกลายมาเป็นจุดเปลี่ยนของธุรกิจฟิตเนส ที่มีทั้งข้อดีข้อเสียแก่ผู้ประกอบการฟิตเนสทุกคน แต่อย่างไรก็ตาม ฟิตเนสและยิมยังคงเป็นสถานที่ ๆ มีบรรยากาศชวนให้ออกกำลังกายอยู่เสมอ และเราคาดหวังว่าสถานการณ์จะดีขึ้นเรื่อย ๆ จนกลับมาสู่สภาวะปกติในที่สุด

ต้องการเปิดฟิตเนส?

ให้เราช่วยบอกคุณว่าควรเริ่มต้นอย่างไรให้ได้กำไรเข้าธุรกิจยิมของคุณให้ได้มากและเร็วที่สุด เราให้คำปรึกษาฟรีที่เหมาะกับขนาดพื้นที่และงบประมาณ

ปรึกษาฟรี!